วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เกษตร

งานของกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนท่าศิลาบำรุงราษฎร์
1.      งานรวมมีกิจกรรมดังนี้
1.1การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ

 การปลูกชะอม  จำนวน  แปลง      ผักหวาน    10  แปลง     พริก   20    ต้น   กวางตุ้ง  คะน้า และ   กระเจี๊ยบเขียว   10   แปลง      ผักเหมียง  จำนวน  18  ต้น   การปลูกข้าวโพดจำนวน 10  แปลง  ในพื้นที่บริเวณโรงเรียนโดยสมาชิกกลุ่มและนักเรียนได้ร่วมกันดูแล  โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ทำเองมาใช้กับแปลงผักเป็นการลดต้นทุน  ผลผลิตที่ได้นำมาทำอาหารและนำไปจำหน่าย
1.2 การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ
        การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์    จำนวน   18    ต้น   แก้วมังกร   จำนวน 18  ต้น   มะพร้าว จำนวน 50  ต้น   กล้วยหอมจำนวน 30  ต้น  กล้วยน้ำว้า     จำนวน 100  ต้นและไผ่ตงจำนวน  50  ต้น  ปลูกในพื้นที่บริเวณโรงเรียน  โดยสมาชิกกลุ่มและนักเรียนได้ร่วมกันดูแลซึ่งขณะนี้ยังไม่ให้ผลผลิต  
 1.3การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
นำมาใช้ในการปลูกพืชผักในโรงเรียนการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากเศษซากพืช  เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยนำไปใช้ในแปลงเกษตรโดยกลุ่มมีการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพก่อนปลูกพืชผักและนำไปใช้ในแปลงปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  การแปรรูปข้าวโพด   กล้วย   ปลาดุก 
          การแปรรูปเป็นการฝึกทักษะและประสบการณ์ให้กับสมาชิกได้รู้จักการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปและถนอมอาหารเพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต  กิจกรรมการแปรรูปที่กลุ่มทำ  ได้แก่  เต้าส่วนข้าวโพด  เปียกข้าวโพด  ข้าวโพดซาวมะพร้าว  ข้าวโพดปิ้ง  ข้าวโพดอบเนยและน้ำสมุนไพร  เช่น  น้ำใบเตยหอม  น้ำส้มแขก  น้ำมะขาม  นอกจากนี้โรงเรียนยังได้นำเสนอกิจกรรมเหล่านี้ในการรับประเมินโรงเรียนต้นแบบในฝันอีกด้วย 
บทบาทการมีส่วนร่วมของสมาชิก                       
1.        กำหนดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภายุวเกษตรกรทุกปี  คณะกรรมการแต่ละตำแหน่งได้มีบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน  มีการประสานงานการทำงานร่วมกัน
2.       มีการประชุมคณะกรรมการสภายุวเกษตรกรประจำทุกเดือน  โดยสมาชิกเข้าร่วมประชุมทุกครั้งอย่างพร้อมเพรียงกับรวมทั้งปฏิบัติตามกฎกติกาของกลุ่ม  มีส่วนร่วมในการเสนอแนะ  ตัดสินใจร่วมกัน
3.       สมาชิกมีความรับผิดชอบในหน้าที่  มีความขยันและอดทน  สามารถทำงานร่วมกันในทุกกิจกรรมและได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ  ได้ผลผลิตมีคุณภาพดี  ปลอดภัยจากสารเคมี 
4.       สมาชิกใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมของกลุ่ม  ทำให้สมาชิกสามารถหลีกเลี่ยงและห่างไกลยาเสพติด
5.       สมาชิกได้รับความรู้จากการอบรมด้านวิชาการต่างๆ  พร้อมฝึกปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นให้สมาชิกนำความรู้  ทักษะที่ได้ไปใช้ในการทำกิจกรรม  และถ่ายทอดไปสู่บุคคลอื่นๆได้ทั้งระบบครอบครัวชุมชนต่อไป
6.       ศึกษาดูงานและฝึกอบรมด้านการเกษตรในชุมชน  และหน่วยงานอื่น
7.       กลุ่มร่วมกันประชาสัมพันธ์ผลงานของกลุ่ม  โดยร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่างๆ  ในการจัดนิทรรศการจำหน่ายผลผลิตของกลุ่ม
8.       สมาชิกยุวเกษตรกรร่วมการจัดการเรียนรู้กระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกรร่วมกับสมาชิกยุวเกษตรกรจากโรงเรียนต่างๆ 


เอกสารเผยแพร่

ดาวโหลดที่นี่

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจพอเพียง

การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร
            วิถีชีวิตของเกษตรกรไทยในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงมีรายได้ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน  จึงจำเป็นต้องปรับระบบการเกษตรของครัวเรือนให้สอดคล้องกับสภาวะการผลิตและการตลาดในปัจจุบันตามความเหมาะสมของระบบนิเวศเกษตรโดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งจะทำให้ครัวเรืองเกษตรกร มีความมั่นคงในอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  อย่างยั่งยืนต่อไป
1.            การลดรายจ่าย     เพื่อเป็นการประหยัดลดรายจ่ายในครอบครัวและเป็นผลดีต่อสุขภาพ  การทำผักสวนครัวรั้วกินได้เป็นอาหารสำหรับการบริโภคในครัวเรือน  นับเป็นงานอดิเรกที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว  พ่อแม่ลูก  ได้มีเวลาในการพูดคุยกันและช่วยเหลืองานกัน แม้ไม่มีพื้นที่ก็สามารถทำสวนครัวในบ้านได้  เช่น  การปลูกพริกในกระถาง  หรือปลูกในภาชนะแขวน  ฯลฯ  พืชที่ปลูกก็เป็นพืชที่ใช้ประจำในครัวเรือน  เช่น  พริก  มะเขือ  ชะพลู  หอม  ผักชี  ชะอม  ตำลึง ผักหวาน  เป็นต้น
2.            การเพิ่มรายได้  โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างรายได้  เช่น  การถนอมอาหาร  แปรรูปงานฝีมือในหัตถกรรมสิ่งประดิษฐ์  การผลิตกล้าไม้ดอกไม้ประดับ  การเลี้ยงสัตว์  ประมง   การเพาะถั่วงอก  เพาะเห็ด  เป็นต้น  ทำให้มีรายได้  เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางการเกษตร
3.            การขยายโอกาส  เกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน โดยการร่วมมือการสร้างอาชีพ  ได้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า  บุตร-หลานได้รับการศึกษาสูงขึ้น  ชุมชนมีความเข้มแข็ง  สามารถรวบรวมกันจัดการตลาดแหล่งเงินทุน  และเครือข่ายมาใช้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน  ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงและอบอุ่นต่อไป

4.            เศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร    เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงได้  โดยการทำการเกษตร  ที่ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนก่อน  ถ้ามีเหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ  การทำเกษตรทฤษฎีใหม่  ที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆมีพื้นที่นาข้าว  พืชไร่  ไม้ผล  สระน้ำ  และบริเวณบ้าน  เพื่อให้มีกิจกรรมการผลิต  ที่หลากหลาย  มีผลผลิตออกทุกฤดูกาล