วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร
            วิถีชีวิตของเกษตรกรไทยในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงมีรายได้ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน  จึงจำเป็นต้องปรับระบบการเกษตรของครัวเรือนให้สอดคล้องกับสภาวะการผลิตและการตลาดในปัจจุบันตามความเหมาะสมของระบบนิเวศเกษตรโดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งจะทำให้ครัวเรืองเกษตรกร มีความมั่นคงในอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  อย่างยั่งยืนต่อไป
1.            การลดรายจ่าย     เพื่อเป็นการประหยัดลดรายจ่ายในครอบครัวและเป็นผลดีต่อสุขภาพ  การทำผักสวนครัวรั้วกินได้เป็นอาหารสำหรับการบริโภคในครัวเรือน  นับเป็นงานอดิเรกที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว  พ่อแม่ลูก  ได้มีเวลาในการพูดคุยกันและช่วยเหลืองานกัน แม้ไม่มีพื้นที่ก็สามารถทำสวนครัวในบ้านได้  เช่น  การปลูกพริกในกระถาง  หรือปลูกในภาชนะแขวน  ฯลฯ  พืชที่ปลูกก็เป็นพืชที่ใช้ประจำในครัวเรือน  เช่น  พริก  มะเขือ  ชะพลู  หอม  ผักชี  ชะอม  ตำลึง ผักหวาน  เป็นต้น
2.            การเพิ่มรายได้  โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างรายได้  เช่น  การถนอมอาหาร  แปรรูปงานฝีมือในหัตถกรรมสิ่งประดิษฐ์  การผลิตกล้าไม้ดอกไม้ประดับ  การเลี้ยงสัตว์  ประมง   การเพาะถั่วงอก  เพาะเห็ด  เป็นต้น  ทำให้มีรายได้  เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทางการเกษตร
3.            การขยายโอกาส  เกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน โดยการร่วมมือการสร้างอาชีพ  ได้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า  บุตร-หลานได้รับการศึกษาสูงขึ้น  ชุมชนมีความเข้มแข็ง  สามารถรวบรวมกันจัดการตลาดแหล่งเงินทุน  และเครือข่ายมาใช้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน  ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงและอบอุ่นต่อไป

4.            เศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร    เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงได้  โดยการทำการเกษตร  ที่ผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนก่อน  ถ้ามีเหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ  การทำเกษตรทฤษฎีใหม่  ที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆมีพื้นที่นาข้าว  พืชไร่  ไม้ผล  สระน้ำ  และบริเวณบ้าน  เพื่อให้มีกิจกรรมการผลิต  ที่หลากหลาย  มีผลผลิตออกทุกฤดูกาล  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น